วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน...ชีวิตข้าาชการ


ชีวิตข้าราชการ

     ข้าพเจ้ามีหัวอนุรักษ์นิยม แบบกลางๆ คือให้รักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ระหว่างรับราชการข้าพเจ้าได้เลื่อนตำแหน่งมาตามลำดับ คือ
     เป็นผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดชั้นโท
     โอนไปเป็นหัวหน้าส่วนการศึกษา กระทรวงมหาดไทย  ชั้นเอก 
     โอนกลับเป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดชั้นพิเศษ  ในระดับ ซี ๘ กำลังสนุกในการทำงานอย่างไม่ลืมหูลืมตา  เรียกว่าอุทิศชีวิตเป็นทาสราชการ  ไม่มีวันเสาร์-อาทิตย์


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน .... โครงการลุ่มน้ำแม่กลอง


โครงการลุ่มน้ำแม่กลอง

      ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้จัดต้ัง "โครงการลุ่มน้ำแม่กลอง"  ขึ้น ส่งนิสิตนักศึกษาออกไปปลุกระดมสอนประชาธิปไตยแก่ชาวไร่ชาวนา   ให้ลุกขึ้นต่อสู้กับลัทธินายทุนจักรวรรดิ์นิยมอเมริกา
     โครงการลุ่มน้ำแม่กลองได้ผลไพศาลอย่างคาดไม่ถึง  สามารถถึงเอาชาวไร่ชาวนามาเป็นแนวร่วมได้มากมาย สามารถเป็นศูนย์กลางของนิสิตนักศึกษาครูอาจารย์  ปัญญาชนได้อย่างมากมาย  มีนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ  มาร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

(ชึวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน...... ทำราชการลับอย่างเปิดเผย



ทำราชการลับอย่างเปิดเผย

     นายชาญ  กาญจนาคพันธุ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม  ได้จัดการอบรมลูกเสือชาวบ้านขึ้นในจังหวัดสมุทรสงคราม  โดยให้นายเทพ สุนทรศารทูลเข้าอบรมเป็นรุ่นแรกแล้วแต่งต้ังให้เป็นเลขานุการคณะกรรมการลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสมุทรสงคราม   มีหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ลูกเสือชาวบ้านในวิชาประวัติศาสตร์  บรรยายว่า  ประเทศไทยมีสถาบันหลักของชาติ ๓ สถาบัน  คือ 
     ๑. สถาบันชาติ
     ๒. สถาบันพุทธศาสนา
     ๓. สถาบันพระมหากษัตริย์
      ชาติไทยต้ังอยู่บนฐาน ๓ อย่างนี้รองรับ  ถ้าหากว่าขาด ๓ สถุาบันนี้เสียแล้ว   ชาติไทยจะล่มสลายกลายเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น  จึงต้องรักสามัคคีกับรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไว้ให้จงได้ด้วยชีวิต 

      อบรมลูกเสือชาวบ้านรวม ๓๕ รุ่นๆละ  ๒๐๐ คน  รวม  ๗๐๐๐ คนได้อัญเชิญสมเด็จพระราชชนนีไปเป็นประธานประทานธงประจำกองหนแรก   และเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเป็นประธานพระราชทานธงประจำกอง คร้ังที่สอง   และได้ต้ัง
     ๑. สโมสรลูกเสือชาวบ้าน
     ๒. สมาคมฌาปนกิจลูกเสือชาวบ้าน  
     ขึ้นเป็นแหล่งรวมคนให้เป็นหลักฐาน
     ราชการนี้คือราชการลับ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ทำงานอย่างเปิดเผย  ทำงานด้วยความสนุก  บรรยายคร้ังหนึ่งเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง คนฟังนั่งเงียบกริบ ได้รับคำชมเชยจากลูกเสือชาวบ้านทุกรุ่นว่า   พูดปลุกใจคนเก่งเป็นยอดจริงๆ   สมัยนั้นกำลังหนุ่มแน่น สมองเปรื่องมาก  ความคิดและคำพูดไหลมาจากเบื้องบนอย่างอัศจรรย์ใจตัวเองว่า  ทำไมจึงพูดได้คล่องอย่างน้ัน  มันเหมือนมีเทพเจ้าดลใจให้พูด  ทุกคนนั่งฟังตาค้าง  
      ลูกเสือชาวบ้านทั้ง  ๓๕ รุ่น  จะเป็นพยานให้ว่า นายเทพ สุนทรศารทูลเป็นนักพูดจูงใจคนได้อย่างดีเยี่ยม  ที่พูดได้ดีเพราะใจมันรักที่จะบอกกับประชาชนว่า  ต้องลุกขึ้นมาจับมือกันป้องกันรักษาชาติ  ก่อนที่ชาติจะล่มจมเป็นเมืองขึ้นของคอมมิวนิสต์
     นายปรีชา คงศรี ผู้สมัคร ส.ส. นั่งฟังอยู่ กลัวว่าจะสมัคร ส.ส. แข่งกับเขา  เขาจะสู้ไม่ได้  จึงต้องประกาศว่า ผมไม่สมัคร ส.ส. แข่งกับคุณดอก  อย่ากลัวเลย
     แล้วนายปรีชา คงศรี ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมุทรสงครามในคราวน้ัน    
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน.... ดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์


ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์

     เมื่อได้คิดตกลงใจอย่างนี้แล้ว  จึงได้เริ่มทำงานต่อไปทันที  คือเริ่มด้วย การปรับทุกข์
     ๑. เข้าพบพระอัมพวันเจติยาภิบาล (เจริญ  ขันติโก)  เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เสนอความคิดสุดยอดว่า วัดอัมพวันเจติยาราม เป็นนิวาสถานเดิมของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์  ท่านต้ังบ้านเรือนอยู่ในบริเวณวัดนี้  พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติที่บริเวณวัดนี้สมควรสร้างอนุสาวรีย์ของพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไว้ในวัดนี้  พูดกับท่านว่า   สมภารวัดอื่นสร้างอุโบสถกัน แต่วัดนี้มีสิทธิสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ประสูติในวัดนี้เมื่อวันที่  ๒๔ กุมภาพันธุ์ พ.ศ.๒๓๑๐  ท่านจะมีชื่อเสียงโด่งดังมาก   ท่านจะได้เป็นพระราชาคณะชั้นราช  ท่านเจ้าคุณเห็นชอบด้วยเต็มที่  และขอให้เขียนประวัติวัดอัมพวันเจติยารามให้จะพิมพ์แจกในวัดทอดกฐินพระราชทาน
     ๒. งานปรับทุกข์สำเร็จแล้ว  จึงเริ่มงานต่อไปคือ  เขียนประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม แล้วพิมพ์แจก ๑,๐๐๐ เล่ม  บอกข้อสรุปไว้ว่า   วัดนี้เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ต้องสร้างพระบรมราชานุสรณ์ไว้ที่วัดนี้ 
     ๓. เจ้าคุณจึงทำหนังสอกราบทูลขอสร้างพระบรมราชานุสรณ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ที่กรมศิลปากร  อัญเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเป็นประธานเททองหล่อพระบรมราชานุสรณ์
     ๔. เสร็จแล้วนำไปประดิษฐานที่บริเวณลานวัด
     ๕. จัดงานเฉลิมฉลอง ๒๐๐ ปี  พระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่วัดอัมพวันเจติยาราม  เป็นงานใหญ่ ดังไปทั่วเมือง   เชิญกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรเสด็จไปเป็นประธานประดิษฐานพระบรมรูป
     ๖. มีงานแสดงละครนอก  ๖ เรื่อง  พระราชนิพนธ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โดยขอให้โรงเรียนใหญ่ๆ รับไปจัดฝึกซ้อมมาแสดง โรงเรียนเชิญ ม.ล.ปิ่น มาลากุล  รัฐมนตรีไปชมละครนอก ม.ล. ปิ่น มาลากุล  ดีอกดีใจอย่างออกหน้า  กล่าวชมทางโทรศัพท์ว่า  สมุทรสงครามจัดการแสดงละครนอก ๖ เรื่อง  ไม่มีใครเคยทำมาก่อน   เรื่องนี้เป็นความคิดอำนวยการของข้าพเจ้า  หวังจะโฆษณาเรื่องพระพุทธเลิศหล้าฯ ให้โด่งดัง  ในฐานะ "พระมหากษัตริย์ชาวสมุทรสงคราม"
     ๗.ม.ล.ปิ่น มาลากุล  ได้พาสมาชิกสมาคมผู้รักษาสมบัติวัฒนธรรมจำนวน  ๖๐ คน  ประกอบด้วยเจ้านายในราชวงศ์และผู้มีเกียรติสูงไปทัศนาจรเมืองสมุทรสงคราม  ข้าพเจ้าจึงได้ถือโอกาส ปาฐกถาเรื่อง "ราชินีกุลบางช้าง"   ให้ฟังเป็นเวลา  ๒ ช.ม.  บรรยายว่าสมเด็จพระอมรินทรามารย์ ประสูติที่เมืองสมุทรสงครามเมื่อวันที่  ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๘๐  สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา ประสูติที่บางช้าง  เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๑๐  พระพุทธยอดฟ้าฯ ประทับอยู่เมืองสมุทรสงครามตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๐๔  ถึง พ.ศ. ๒๓๑๑  ทรงตั้งก๊กกู้ชาติที่เมืองสมุทรสงครามก่อนที่จะเข้าไปรวมกับก๊กพระเจ้าตากสินมหาราชที่เมืองธนบุรี  ก๊กของหลวงยกกระบัตร (ทองด้วง) เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว  จนได้ปราบการจราจลในกรุงธนบุรี   แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  พระพุทธยอดฟ้าฯ  พร้อมด้วยพระมเหสีจึงได้สร้างวัดอัมพวันเจติยารามขึ้นในบริเวณนิวาสถานเดิม  ถึงรัชกาลที่ ๓ ได้บรูณะใหม่หมดทั้งพระอาราม  สร้างพระปรางค์ขึ้นบรรจุพระอังคารธาตุของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  แล้วพระราชทานนามวัดว่า วัดอัมพวันเจติยาราม 
     คณะทัศนาจรของม.ล. ปิ่น มาลากุล  สนใจฟังเงียบกริบ เรียกว่าฟังอย่างตาค้าง  ม,ล. สุภัทรดิศ ดิศกุล คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตรัสถามว่า "คุณไปเอามาจากไหน มาว่าอย่างนี้"
     จึงทูลท่านว่า "ก็ปู่ของฝ่าบาทเขียนไว้เอง"
     ๘. ได้แต่งหนังสือ พงศาวดารราชินีกุลบางช้าง  ออกเผยแพร่
     ๙. เขียนประวัติ พระอมรินทรามาตย์ ออกเผยแพร่
     ๑๐. เขียนประวัติ พระพุทธเลิศหล้าฯ ออกเผยแพร่
     ๑๑. เขียนหนังสือเรื่อง  แปดก๊กกรุงสยาม  ออกเผยแพร่ว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว  มีผู้ตั้งก๊กขึ้น ๘ ก๊ก  (ไม่ใช่ ๖ ก๊ก)  คือ 
     ๑. ก๊กเจ้านครพัฒน์  นครศรีธรรมราช
     ๒. ก๊กเจ้าพิมาย  พระองค์เจ้าแขก กรมหมื่นเทพพิชัย 
     ๓. ก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล)
     ๔. ก๊กเจ้าพระยากุลเถร (มหาเรือน) เมืองฝาง
     ๕. ก๊กสุกี้ (นายทองอินทร์)  อยุธยา
     ๖. ก๊กนายบุญส่ง  พระยาธนบุรี เมืองธนบุรี 
     ๗. ก๊กพระเจ้าตากสิน จันทบุรี
     ๘. ก๊กหลวงอร่ามเรืองฤทธิ์  สมุทรสงคราม 
     
       การดำเนินการตามแผนการดังกล่าว เห็นผลทันตาในเวลาต่อมา คือ 
     ๑. พระอัมพวันเจติยาราม  สร้างพระบรมราชานุสรณ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ไว้ในลานวัด
     ๒. ม.ล. ปิ่น มาลากุล   สร้างอุทยาน ร. ๒ ไว้ข้างวัดอัมพวันเจติยาราม ในที่ดิน  ๒๗ ไร่
     ๓. สร้างสะพานสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ข้ามแม่น้ำแม่กลอง  ที่บางคณฑี
     ๔. สร้างสะพานสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์  ข้ามแม่น้ำแม่กลอง ที่อำเภออัมพวา
     ๕. สร้างสะพานพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ข้ามแม่น้ำแม่กลอง  ที่อำเภอเมือง สมุทรสงคราม 
      ๖.เปลี่ยนชื่อ โรงพยาบาลสมุทรสงครามเป็นโรงพยาบาลพระพุทธเลิศหล้า 
     
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
     
      

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน ...... ทดแทนคุณแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์


ทดแทนคุณแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์

     ข้าพเจ้าเชื่อถือว่า แผ่นดิน ท้องน้ำเมืองสมุทรสงครามนี้เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นแผ่นดินสมภพของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินี คือ 
     ๑. สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาค)  พระมเหสีของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  เมื่อวันที่  ๘ มีนาคม  พ.ศ. ๒๒๘๐
     ๒. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  สมภพเมื่อวันที่ ๒๔  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐
     ๓. สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (เจ้าฟ้าบุญรอด)  พระมเหสีพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  สมภพเมื่อวันที่  ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๑๐  ท่านเป็นพระราชชนนีของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
     นอกจากนี้ยังเป็นแผ่นดินที่พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประทับอยู่นานถึง   ๗ ปี  แล้วได้ตั้งก๊กเล็กๆ ขึ้นกู้ชาติที่เมืองนี้ ในสมัยที่เป็นหลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ ยกกระบัตรเมืองสมุทรสงคราม   ก่อนเข้าร่วมกับก๊กพระเจ้าตากสินมหาราช  
     ข้าพเจ้าเชื่อว่าแผ่นดินเมืองสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์เป็นเมืองสมภพของพระมหากษัตริย์  เป็นเมืองราชินีกุลบางช้าง  
    ข้าพเจ้าถือว่าตนเองมีบุญที่ได้มาอยู่เมืองสมุทรสงครามนานถึง ๒๖ ปี  เท่ากับเวลาที่สุนทรภู่ออกบวชในรัชกาลที่ ๓ เป็นเวลา  ๒๖ ปีเหมือนกัน   
     ข้าพเจ้าซึ่งมีความปักใจแน่วแน่ที่จะตอบแทนเมืองสมุทรสงคราม แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ ตามที่เทพยดาดลใจให้ข้าพเจ้ามาอยู่เมืองนี้ ข้าพเจ้าจักไม่อาศัยแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์นี้อยู่เปล่าๆ ปลี้ๆ ข้าพเจ้าจะต้องทดแทนคุณแผ่นดินเมืองสมุทรสงครามให้เต็มสติปัญญา และพลังความสามารถที่มีอยู่  
(โปรดติดตามตอนต่อไป) 

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน .... เมืองราชินีกุลบางช้าง


เมืองราชินีกุลบางช้าง

     เมืองสมุทรสงคราม  ได้ชื่อว่าเป็นเมืองราชินีกุลบางช้างในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
     ยุคแรก  เป็นเมืองกษัตริย์นอกราชสมบัติ หนีราชภัยมาตั้งวงศ์บางช้าง อยู่ในแขวงเขตบางช้าง เมืองราชบุรี
     ยุคสอง  เป็นเมืองเศรษฐีบางช้าง ซึ่งสืบสายลงมาจากวงศ์กษัตริย์สุโขทัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ 
     ยุคสาม  เป็นเมืองราชินีกุลบางช้าง ของสมเด็จพระอมรินทรามา
ตย์(นาค) 
     เมืองสมุทรสงคราม เป็นเมืองพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินี ๒ พระองค์ คือ 
     ๑. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพเมื่อวันที ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ 
     ๒. สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาค) พระมเหสีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  สมภพเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ ที่แขวงบางช้าง
     ๓. สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด) พระมเหสีพระบาทสมเด็จพระพุทธหล้านภาลัย สมภพเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๑๐ 

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(ทองด้วง) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสมุทรสงคราม ต้้งแต่ พ.ศ.๒๓๐๔ พระชนมายุ ๒๕ ปี ในตำแหน่งหลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ ยกกระบัตรเมืองสมุทรสงคราม  จึงเท่ากับเป็นเมืองเริ่มชีวิตราชการ จนได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ ทรงประทับอยู่เมืองสมุทรสงคราม ๖ ปี จึงเข้ารับราชการในกรุงธนบุรี  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑  และตั้งราชวงศ์จักรีขึ้น เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ 
     
     การที่ข้าพเจ้าได้ไปอยู่เมืองสมุทรสงคราม ๒๖ปี  ในแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้  จึงนับว่าเป็นบุญวาสนาอย่างมหัศจรรย์  แผ่นดินแผ่นน้ำเมืองสมุทรสงครามได้ชุบเลี้ยงให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับจากข้าราชการช้ันจัตวา จนได้เป็นข้าราชการชั้นพิเศษ 
     ผลงานชิ้นหนึ่งของข้าพเจ้าคือ ได้เขียนหนังสือ พงศาวดารราชินีกุลบางช้าง  ขึ้นเป็นหลักฐานประกาศให้มหาชนทราบว่า เจ้าพราย เจ้าแสน ต้นตระกูลราชินีกุลบางช้าง  เป็นราชบุตรนอกราชสมบัติของพระเอกาทศรถ กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย  
     ต้นตระกูล สุนทรศารทูล คือ  พระราชานุวงศ์ (เลี้ยง)  เป็นบุตรของเจ้าคุณหญิงแก้ว   พระน้องนางของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาค)  พระมเหสีของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 
     

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน .... คุณหญิงนาค


คุณหญิงนาค

     คุณหญิงนาค  เกิดมามีบุญ พระอาจารย์จันทร์ เจ้าอาวาสวัดบางลี่ได้พยากรณ์ว่าจะมีบุญได้เป็นพระมเหสีพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาพระยาอมรินทรฤาไชย เจ้าเมืองราชบุรีได้มาสู่ขอเอาไปถวายเป็นสนมพระเจ้าเอกทัต  แต่ท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้นไม่อยากให้บุตรสาวไปเป็นสนมในวัง จึงพาบุตรสาวไปหาหลวงพินิตอักษร เสมียนกระทรวงมหาดไทย ในกรุงศรีอยุธยาขอให้ช่วยเหลือ  หลวงพินิตอักษร (ทองดี)  จึงขอให้แต่งงานกับหม่อมทองด้วง  มหาดเล็กเจ้าฟ้าอุทุมพร ซึ่งเป็นบุตรของตน  คุณหญิงนาคจึงได้สมรสกับหม่อมทองด้วง  ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งหม่อมทองด้วง เป็นหลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ ยกกระบัตรเมืองสมุทรสงคราม  ในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัต
     ต่อมาภายหลัง  หลวงอร่ามเรืองฤทธิ์(ทองด้วง)  ได้เข้ารับราชการอยู่กับพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้เลื่อนยศศักดิ์ตามลำดับ   เป็นพระราชวรินทร์ , พระยาอภัยรณฤทธิ์, พระยายมราช,  เจ้าพระยาจักรี  และสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จนกระทั่งได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ตั้งราชวงศ์จักรีขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ 
     คุณหญิงนาค  จึงได้เป็นพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีราชบุตรคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   ยกวงศ์ญาติ แขวงบางช้าง หรือ วงศ์เศรษฐีบางช้างขึ้นเป็นวงศ์ราชินีกุลบางช้าง  ดังนี้คือ 
     เจ้าคุณชายชูโต  มีบุตรหลานสืบวงศ์ต่อมาเป็นสกุล ชูโต แสงชูโต สวัสดิชูโต  พลกุล  พลจันทร์  พลอิน่ทร์
     คุณหญิงนาค  เป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ เป็นต้นวงศ์สกุล ราชวงศ์จักรี  ที่มีนามสกุลว่า ณ อยุธยา ต่อมาคือ
     ๑. สายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ๒๐ สกุล
     ๒.สายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ๑๓ สกุล
     ๓. สายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๗ สกุล
     ๔. สายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๕ สกุล
     ๕. สายกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ๙ สกุล
     ๖. สายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ๙ สกุล 

     สายคุณหญิงนวล  สมรสกับเจ้าพระยาอัครมหาเสนา (บุนนาค) มีทายาทสืบสายสกุล บุนนาค บุรานนท์ ศุภมิตร  จาติกรัตน์ 

    สายคุณหญิงแก้ว  สมรสกับพระยาแม่กลองบุรี(ศร)  มีบุตรหลานสืบสกุลต่อมาในปัจจุบันนีหลายตระกูล 
     รวมทั้งตระกูล สุนทรศารทูล ด้วยแยกออกมาจากวงศ์ราชินีกุลบางช้างสาขาหนึ่ง  คือ สาย ณ บางช้าง, ภมรบุตร, ครุธทะยาน, ศรีธนทิพย์, ภมรพล, สุนทรศารทูล 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน ... มีบุญได่อยู่เมืองสมุทรสงคราม


มีบุญได้อยู่เมืองสมุทรสงคราม 

     ข้าพเจ้าไปรับราชการอยู่เมืองสมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง ๒๖ปี  ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๙๘  ถึง พ.ศ. ๒๕๒๔   เป็นช่วงเวลาที่ทำงานด้วยความเป็นสุข  สนุกสนานที่สุดจนลืมตัวลืมชีวิตไปในบางคราว  ชีวิตที่เกิดมานี้ อยู่ที่เมืองกำเนิดคือ นครปฐม นานที่สุด  ๒๙ ปี  แล้วจึงไปอยู่เมืองสมุทรสงคราม  เป็นเมืองที่สอง  นานถึง ๒๖ ปี  เมืองสมุทรสงคราม เป็นเมืองเล็กๆ  ที่สงบเงียบ  เป็นเมืองปิด ไม่มีถนนเข้าไปสู่เมืองนี้  นอกจากทางรถไฟของบริษัทเอกชนเรียกว่า รถไฟสายแม่กลอง   จากปากคลองสานไปถึงแม่กลอง ระยะทาง ๖๕ กม.  
แม่กลอง คือชื่อเรียกเมืองนี้   ซึ่งเกิดมาก็ไม่เคยได้ยินชื่อ  แต่แล้วบุญเก่ากรรมแต่ปางก่อนก็ให้ไปอยู่นานถึง ๒๖ ปี  เมืองที่มีนามเป็นทางราชการว่า  เมืองสมุทรสงคราม   เป็นนามเมืองที่สมเด็จพระนารายณมหาราช ทรงยกขึ้นตั้งเป็นเมืองขึ้นในสมัยรัชกาลน้ัน   แต่เดิมเรียกว่า "แขวงบางช้าง"   ขึ้นแก่เมืองราชบุรี   เป็นเมืองชั้นจัตวา   เจ้านายมีนามบรรดาศักดิ์ว่า  "พระแม่กลองบุรีศรีมหาสมุทรสงคราม"    แบ่งออกเป็น ๓ อำเภอ  คือ อำเภอสี่หมื่น  อำเภอบางช้าง  อำเภอแม่กลอง  ต่อมา อำเภอสี่หมื่น เปลี่ยนชื่อว่าอำเภอบางคณฑี   อำเภอบางช้าง เปลียนชื่อว่า อำเภออัมพวา  อำเภอแม่กลอง เปลี่ยนชื่อว่า อำเภอเมืองสมุทรสงคราม 

     ประวัติความเป็นมาของเมืองนี้เหมือนนิยายที่เล่าขานกันเล่น  แต่เป็นเรื่องจริง  คือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงมีพระราชบุตรนอกราชสมบัติ  ที่ประสูติก่อนเสวยราชสมบัติ  ๓ พระองค์ คือ 
     ๑. พระองค์เจ้าพลาย
     ๒.พระองค์เจ้าแสน
     ๓. พระองค์เจ้าไลย  
      มีโอรสในราชสมบัติองค์หนึ่ง คือ  สมเด็จเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ 
     เมื่อพระเอกาทศรถสวรรคต เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ได้สืบราชสันตติยวงศ์ 
     พระองค์เจ้าไลย ซึ่งเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าราชการกลาโหม  เรียกว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ได้ปราบดาภิเษก จับเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ปลงพระชนม์เสียแล้วยกพระอาทิตยวงศ์ ราชบุตรเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่ชั่วคราว แล้วปลดลงเป็นไพร่ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าปราสาททอง  
     เมื่อมีการแย่งราชสมบัติและฆ่าเจ้านายในราชวงศ์เช่นนี้  พระองค์เจ้าพราย พระองค์เจ้าแสน สองพี่น้อง จึงพาผู้คนบ่าวไพร่  หอบหนีราชภัยไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี  ต้ังวงศ์สกุลขึ้นใหม่เป็นวงศ์เศรษฐีบางช้าง  มีลูกหลานสืบวงศ์ต่อมา เรียกว่า วงศ์เศรษฐีบางช้าง  
     เมื่อประเจ้าปราสาททองสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้านารายณ์ได้ครองราชสมบัติได้ต้ังแขวงบางช้างขึ้นเป็นเมืองสมุทรสงคราม  แล้วได้ตั้งคนในวงศ์เศรษฐีบางช้างเป็นเจ้าเมือง  
     วงศ์เศรษฐีบางช้าง  ได้สืบวงศ์ลงมา ดังแผนผังต่อไปนี้

     พระองค์เจ้าพลาย                         พระองค์เจ้าแสน
              |                                                        |
           เจ้าชี                                                เจ้าถี
              |                                                       |
          เจ้าทอง                                            เจ้าสั้น


     เจ้าทองกับเจ้าส้ัน หรือเศรษฐีทองกับเศรษฐีสั้นได้สมรสกัน มีบุตร ธิดา ๑๐ คน คือ
     ๑. เจ้าคุณหญิงแหวน              ๒. เจ้าคุณหญิงทองอยู่
     ๓.เจ้าคุณชายชูโต                  ๔. เจ้าคุณหญิงนาค
     ๕. เจ้าคุณชายแตง                 ๖. เจ้าคุณหญิงชีโพ
     ๗. เจ้าคุณชายพู                     ๘. เจ้าคุณหญิงเสม
     ๙. เจ้าคุณหญิงนวล                ๑๐. เจ้าคุณหญิงแก้ว

     
(โปรดติดตามตอนต่อไป) 

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน .... เจ้านายชั้นพิเศษ


เจ้านายชั้นพิเศษ

     นายเทพ  สุนทรศารทูล  เป็นคนโชคดีเรื่องเจ้านาย  คือมีเจ้านายผู้ใหญ่ที่ท่านรักใคร่เมตตา  เรียกใช้สอยโดยใกล้ชิด ชนิดที่เรียกว่าเป็นลูกศิษย์ก้นกุฎิ  หรือลูกศิษย์ติดตามก้นหลายท่าน  เจ้านายอย่างนี้เป็นเจ้านายพิเศษสมควรออกนามท่านไว้  เพราะการที่ได้มีหน้าตามีชื่อขึ้นมา  เพราะมีเจ้านายพิเศษอย่างนี้    ใครอย่าแปลกใจ  ใครอย่าสงสัย  ใครอย่าหาว่าคุยโม้โอ้อวดเลย  ถ้าดูดวงชะตาของข้าพเจ้าแล้ว จะเห็นได้ชัดว่ า อาทิตย์เป็นมหาอุจจ์  อยู่ราศีเมษ  โยคแต่ลัคนาในราศีเมถุน  อย่างนึ้ต้องมีสัมผัสสัมพันธ์กับเจ้านายผู้ใหญ่อย่างแน่นอน   
     เจ้านายชั้นพิเศษอย่างนึ้มีมาตลอดชีวิตราชการ  คือ 
     ๑. นายรัศมี  เลดิกุล                ศึกษาธิการอำเภอ
     ๒. นายสำเริง  สุนันทกุล         ศึกษาธิการอำเภอ
     ๓. นายพิน กันตะเพ็ง              ศึกษาธิการอำเภอ
     ๔. ร.ต.ต. ศุข ศรีเพ็ญ              นายอำเภอ
     ๕. ขุนเชาวน์ปรีชาศึกษากร     ศึกษาธิการจังหวัด
     ๖. นายทิพย์  ฟักเจียม             ศึกษาธิการจังหวัด
     ๗. นายสมเกียรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร  ผู้ช่วยศึกษาธิการภาค
     ๘. นายขาว  โกมลมัศร            ศึกษาธิการภาค
     ๙. นายเอื้อ  วิชัยดิษฐ              รองปลัดกระทรวง
     ๑๐. ม.ล. ปิ่น มาลากุล              ปลัดกระทรวง
     ๑๑. นายสมาน  แสงมะลิ          ปลัดกระทรวง
     ๑๒. นายชูสง่า  ไชยพันธุ์          ผู้ว่าราชการจังหวัด
     ๑๓. นายชัชวาลย์  ชมปรีดา      นายอำเภอ
     ๑๔. นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์        ผู้ว่าราชการ
     ๑๕. นายชาญ  กาญจนารคพันธุ์  ผู้ว่าราชการ
     ๑๖. นายเชาวน์วัศ สุดลาภา       ผู้ว่าราชการ 
     
     เจ้านายบางท่านน้ันขึ้นรถลงเรือไปไหนด้วยกัน เจ้านายบางท่านเคยไปเยี่ยม
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน .....ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เคยเป็นเจ้านาย


ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เคยเป็นเจ้านาย

     ตลอดเวลาที่รับราชการ  ได้อยู่ใต้ปกครองบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่าน  ล้วนแต่มีอุปนิสัย  ลีลาคารม วิธีการปฎิบัติราชการ  แตกต่างกันไปตามแบบและบุคคลิกของท่าน  ได้เห็นแบบอย่าง  จดจำเอามาปฎิบัติมากมาย  เรียกว่าได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชีวิตข้าราชการมามาก  จนสามารถนำมาเขียนหนังสือ  ๔ เรื่อง   คือ 
     ๑. นายมหาแดง
     ๒. ปรัชญาข้าราชการ
     ๓. จรรยาผู้ดี
     ๔. คัมภีร์ผูกมิตร







     หนังสือทั้ง  ๔ เรื่องนี้  เขียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริงในการรับราชการอยู่ใต้การปกครองบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่าน  คือ 
     ๑. นายพยุง  ตันติลีปิกร            ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
     ๒. นายเจริญ  ภมรบุตร             ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๓. นายชูสง่า  ไชยพันธุ์            ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๔. นายชาติ บุญยรัตพันธุ์         ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๕. นายธวัชชัย  เดชาติวงศ์      ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๖. นายประสิทธิ อุไรรัตน์          ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๗. นายชัยวัฒน์  หุตะเจริญ      ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๘. นายพิบูลย์  ธุรภาคพิบูล      ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๙. นายเสถียร  จันทรจำนงค์    ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๑๐. นายชาญ กาญจนาคพันธุ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๑๑. นายฉลอง  วงศา               ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
     ๑๒. นายชัด รัตนราช                ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
     ๑๓. นายเชาว์วัศ สุดลาภา        ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

ศึกษาธิการจังหวัด
    เคยอยู่ใต้ปกครองบังคับบัญชาของศึกษาธิการจังหวัดหลายท่าน คือ 
     ๑. ขุนเชาวน์ปรีชา ศึกษาธิกร      ศ.ธ. นครปฐม
     ๒. นายทิพย์  ฟักเจียม                 ศ.ธ. นครปฐม
     ๓. นายแสวง  เรืองจำเนียร          ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๔. นายนพ จุลกาญจน์                 ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๕. นายเกียรติ  สุขทวี                  ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๖.นางพวง  ทับงาม                     ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๗. ร.ต. วัฒนะ  ปรารถน์วิทยา      ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๘. นายเกษม  เหมประยูร             ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๙. นายเมี้ยน  เครือสินธุ์                ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๑๐. นายสารวัน  จันทร์ฤาไชย      ศ.ธ. สมุทรสงคราม
     ๑๑. นายพัฒนพงศ์  ศุกรโยธิน      ศ.ธ. สมุทรสงคราม

นายอำเภอ
     เคยอยู่ในปกครองของนายอำเภอหลายท่าน คือ
     ๑. นายพิพัฒน์  งามจิตร
     ๒. ร.ต.ต. ศุข  ศรีเพ็ญ 
     ๓.นายชัชวาลย์ ชมปรีดา
     ๔. นายวาสนา  วงษ์สุวรรณ
     ๕.นายสมใจ  ทองสุรีย์
     ๖. นายสุดใจ กรรณเลขา
     ๗. นายกีตติ  อภิบาล

(โปรดติดตามตอนต่อไป)


       

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน....ตำแหน่งนอกหน้าที่ราชการ


ตำแหน่งนอกหน้าที่ราชการ

      ระหว่างที่รับราชการอยู่น้ัน ได้ทำงานนอกหน้าที่ราชการหลายอย่าง   จึงได้รับเลือกต้ังให้เป็นกรรมการในสมาคมองค์การต่างๆ หลายตำแหน่งคือ
     ๑. นายกพุทธสมาคมจังหวัดสมุทรสงคราม
     ๒. ประธานกรรมการบริหารสหกรณ์ครูสมุทรสงคราม
     ๓. กรรมการอำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
     ๔. กรรมการอำนวยการสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย
     ๕. กรรมการอำนวยการคุรสภา
     ๖. ประธานสหกรณ์ร้านค้าสมุทรสงคราม
     ๗. เลขานุการสโมสรลูกเสือชาวบ้านสมุทรสงคราม
     ๘.ประธานกรรมการสมาคมฌาปนกิจลูกเสือชาวบ้าน
     ๙. วิทยากรลูกเสือชาวบ้าน ๓๕ รุ่น
     ๑๐. ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดเพชรบุรี
     ๑๑ . วิทยากรบรรยายเรื่องอาหารกลางวันของกรมการปกครอง
     ๑๒. เลขานุการสร้างศาลหลักเมืองสมุทรสงคราม

สร้างสำนักงานใหม่

     ได้ก่อสร้างสำนักงานใหม่ขึ้น
     ๑. สำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรสงคราม  จำกัด  จำนวนเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
     ๒. สำนักงานออมทรัพย์ครูเพชรบุรี จำกัด จำนวนเงิน ๑๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท 
     ๓. สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี จำนวนเงิน ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท 
     ๔.สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี จำนวนเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท 

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน....แต่งหนังสือทดแทนคุณแผ่นดิน


แต่งหนังสือทดแทนคุณแผ่นดิน

     ได้ใช้สติปัญญาแต่งหนังสือทดแทนคุณแผ่นดินที่อยู่อาศัยเกิด  ทำมาหากินมีความสุขความเจริญ
     ๑. หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง  เขียนเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินเกิดที่ตำบลตาก้องเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙
     ๒. กาพย์พญากงพญาภาณ  แต่งเพื่อทดแทนคุณบ้านเมืองที่เกิดมาในเมืองนครปฐม แผ่นดินของพญากง พญาภาณ เมื่อพ.ศ.๓๐๐ ในสมัยทวาราวดี 
     ๓. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม  แต่งเพื่อทดแทนคุณพระอุปัชฌาชย์ เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม  
     ๔. ประวัติหลวงพ่อบ้านแหลม  จังหวัดสมุทรสงคราม เขียนเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินที่มาอาศัยรับราชการอยู่ด้วยความสุขความเจริญนานถึง  ๒๖ ปี
     ๕.ประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม  แต่งให้เจ้าคุณอัมพวันเจติยาภิบาล  (เจริญ ขันติโก)  เพื่อเป็นข้อมูลให้ได้มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ไว้ในวัดจนสำเร็จ   เพื่อประกาศว่าท่านประสูติที่เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระมหากษัตริย์ชาวเมืองสมุทรสงคราม เป็นการจุดประกายทางปัญญาให้เกิดแก่ชาวเมืองสมุทรสงคราม
     ๖. พงศาวดารราชินีกุลบางช้าง   เขียนขึ้นเพื่อประกาศความจริงให้มหาชนทราบ ๓ อย่างคือ
     ๖.๑. วงศ์ราชินีกุลบางช้าง สืบวงศ์ลงมาแต่พระเจ้าเอกาทศรถ  พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัย 
     ๖.๒. พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เคยเป็นหลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ ยกกระบัตรเมืองสมุทรสงคราม ไม่ใช่ยกกระบัตรเมืองราชบุรี
     ๖.๓. พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สืบราชวงศ์ลงมาจากเจ้าพระยาโกษา(ทองปาน)  ซึ่งเป็นบุตรพระองค์เจ้าหญิงอำไพวรรณ  พระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า  พระพุทธยอดฟ้าฯ จึงสืบสายลงมาจากวงศ์กษัตริย์สุโขทัย 
     ๖.๔.สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาค) พระมเหสีของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นธิดาเศรษฐีบางช้างน้้น แท้ทีจริงท่านสืบสายลงมาจากวงศ์กษัตริย์สุโขทัย สายพระมหาธรรมราชาธิราช ซึ่งมีพระราชบุตรชื่อพระเอกาทศรถ  พระมหากษัตริย์วงศ์สุโขทัยเช่นเดียวกัน
     ๖.๕. วงศ์ราชินีกุลบางช้าง ได้แตกแยกสาขาออกไปในปัจจุบันนี้  ๔๓ สกุล 
      ซึ่งยังไม่เคยมีใครศึกษาค้นคว้าถึง  และยังไม่เคยมีใครเขียนเป็นหลักฐานมาก่อนเลย   ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ตอบแทนคุณแผ่นดินให้ปรากฎในโลก  ข้าพเจ้าจึงภาคภูมิใจอยู่คนเดียวว่าได้ทำงานสำคัญไว้ในแผ่นดิน  ไม่เสียชาติเกิด 
     ไม่ได้เกิดมาอาศัยแผ่นดินอยู่เปล่าๆ  ให้หนักแผ่นดิน แต่ได้ฟื้นฟูแผ่นดินให้พืชพันธุ์เจริญเติบโตงอกงามต่อไป ได้เห็นผลประจักษ์แก่ตา 
(โปรดติดตามตอนต่อไป) 

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน ..... งานพิเศษนอกหน้าที่ราชการ

 งานพิเศษนอกหน้าที่ราชการ

     ได้ทำงานพิเศษนอกหน้าที่ราชการตามปกติธรรมดาอีกหลายอย่างคือ 
     ๑. จัดตั้งพุทธสมาคมสมุทรสงคราม  ยกให้นายสะอาด เหมศรีชาติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเป็นนายกสมาคม   แล้วยังเป็นนายกสมาคมคนที่สองสมัยต่อมา
     ๒. จัดต้ังสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรสงคราม  เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒  โดยออกเงินส่วนตัวเริ่มต้น ๘๐๐๐ บาท จนถืงปัจจุบันมีเงินทุน ๖๐๐ ล้านบาท  โดยให้นางประชุม เอื่ยมกรุง เป็นผู้จัดการ  ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานอำนวยการไปประชุมต่างจังหวัดทุกๆปี  ที่สวางคนิวาส ชลบุรี   เชียงใหม่ อุบลราชธานี ภูเก็ต สงขลา เป็นต้น 
     ๓. จัดต้ังสโมสรลูกเสือชาวบ้าน   จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และตนเองเป็นเลขานุการสโมสร 
     ๔. สมาคมฌาปนกิจลูกเสือชาวบ้าน   จดทะเบียนจัดต้ังตามกฎหมาย 
     ๕. สมาคมศิษย์เก่าศรีนครินทรวิโรฒ  จังหวัดสมุทรสงคราม จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย 
     ๖. สหกรณ์ร้านค้าสมุทรสงคราม  รวมรวมสมาชิกได้มากกว่า ๑๐๐๐ คน  มีเงินทุนจดทะเบียน ๑ ล้าน  ๕ แสนบาท
     ๗. พิพิธภัณฑ์พุทธสมาคมสมุทรสงคราม  ต้ังอยู่ที่ศาลาวัดเพชรสมุทรวรวิหาร 
     ๘. โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน  ต้ังเมื่อพ.ศ.๒๕๑๖ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย   กระทรวงมหาดไทยได้เชิญไปบรรยายให้ครูประชาบาลที่สวางคนิวาสทุกปี 
     ๙. โครงการร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน  ให้โรงเรียนจัดต้ังร้านค้าสหกรณ์ขึ้น สมาชิกถือหุ้น หุ้นละ ๑๐ บาท แพร่หลายขยายไปเรื่อยๆ 
     ๑๐. โครงการห้องสมุดโรงเรียน ให้ทุกโรงเรียนจัดต้ังห้องสมุด หาหนังสือหาทุนทำห้องสมุด
     ๑๑. โครงการกองทุน หรือมูลนิธิโรงเรียน  ให้โรงเรียนหาทุนจัดต้ังกองทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของโรงเรียน
     ๑๒. โครงการสวนครัวเลี้ยงสัตว์โรงเรียน ให้ทุกโรงเรียนจัดทำสวนครัวเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไก่ เป็ด หมู ปลา เพื่อเป็นอาหารกลางวันโรงเรียน
     ๑๓. ชมรมเบญจศีล  รวบรวมผู้ถือศีลห้าเข้าร่วมชมรม บำเพ็ญประโยชน์เรื่องศีลธรรม พบปะกันช่วยเหลือในหมู่สมาชิก
     
     กิจการนอกหน้าที่ราชการนี้  บางอย่างดีมากเช่น การจัดต้ังกองทุนมูลนิธิโรงเรียน บางแห่งมีเงินทุนถึง ๖๐๐,๐๐๐ บาท,  โครงการอาหารกลางวันมีกิจกรรมก้าวหน้ามาก  มีผู้ออกทุนให้ประจำเดือนก็มี , ห้องสมุดโรงเรียนมีกิจกรรมก้าวหน้าทุกโรงเรียน 
     ๑๔. โครงการโรงเรียนมัธยมในโรงเรียนประชาบาล 
     ได้ทดลองจัดตั้งที่โรงเรียนวัดเทพประสิทธิ์ เปิดเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๑  โดยใช้ครูประชาบาลสอน กิจการได้ผลดีมาก  ผลการเรียนเท่าโรงเรียนมัธยมของกรมสามัญศึกษา 
     
     กิจการบางอย่างล้มเหลวเช่น สหกรณ์การค้า ปีแรกมีกำไร ปีที่สองก็ขาดทุน  สมาคมฌาปนกิจลูกเสือก็โกงกินกันจนล้มเลิกไป  พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนาขาดเจ้าหน้าที่ผู้รักงานและมีความรู้  จึงหยุดกิจการไป  แต่กิจการทุกอย่างทำให้ได้เรียนรู้งาน  มีประสบการณ์ทั้งด้านดีและไม่ดีต่างๆ มากมาย  อย่างที่ไม่มีโรงเรียนใดสอนได้เลย  ไม่มีครูบาอาจารย์ใดสอนได้เลย  นอกจากได้ประสบการณ์ด้วยตนเอง  

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

(ชีวประวัติ ) ทรายเม็ดหนึ่ง ตอน.......ร่วมสร้างวัด


ร่วมสร้างวัด
     
     ไม่ใช่แต่สร้างโรงเรียนประชาบาลเท่านั้น  แต่ข้าพเจ้ายังได้เป็นผู้ร่วมมือกับท่านผู้อื่นสร้างวัดมาแล้ว  ๕ แห่ง คือ 
     ๑. ร่วมมือกับนายชัชวาลย์ ชมปรีดา นายอำเภอเมืองสมุทรสงคราม  นายเจริญ มุสิกวัฒน์  กำนันตำบลบางแก้ว สร้างวัดในตำบลบางแก้ว ชื่อ  วัดเจริญสุนทราราม  วัดนี้ขอตั้งชื่อวัดว่า  วัดเจริญสุนทราปรีดาราม โดยเอาชื่อนายเจริญ มุสิกวัฒน์  นายเทพ สุนทรศารทูล นายชัชวาลย์ ชมปรีดา ตั้งชื่อวัด แต่กรรมการศาสนาตั้งชื่อว่า  วัดเจริญสุนทราราม โดยเอาชื่อนายเจริญ นามสกุลสุนทรศารทูล  ตั้งชื่อวัดว่า วัดเจริญสุนทราราม 
     ๒. วัดธรรมประสิทธิ์  โดยได้รับมอบหมายจากนายประสิทธิ์ อุไรรัตน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ไปซื้อที่ดินจากราษฎรจำนวน ๘ ไร่ สร้างวัดธรรมประสิทธิ์ ที่ตำบลคลองโคน 
     ๓.วัดศรีศรัทธาธรรม โดยร่วมมือกับนายลี ชาวบ้านตำบลดาวโด่ง นายชัชวาลย์ ชมปรีดา  จัดตั้งวัดศรีศรัทธาธรรมขึ้นในที่ดิน  ๑๒  ไร่ ยกให้เป็นวัด ๖ ไร่  เป็นโรงเรียนประชาบาล ๖ ไร่ 
     ๔. วัดทุ่งพิชัย  ได้ร่วมลงแรงขนไม้จากวัดเลาเต่า ช่วยแบกหามมาสร้างวัดทุ่งพิชัย  ที่พระครูพรหมวิสุทธิท่านสร้างไว้
     ๕. วัดบางแก้ว  ได้ร่วมมือสร้างวัดบางแก้ว  ที่ตำบลลาดใหญ่กับท่านพระมหาสิทธิการ (เอื้อน  ศศิธร)   โดยนางหลง เล็กสกุล  บริจาคที่ดิน ๘ ไร่  

     ทอดกฐิน 
     ได้เป็นหัวหน้าหมู่คณะทอดกฐิน  ๓ วัด  ตามประเพณีของชาวพุทธ คือ 
     ๑. วัดเจริญสุขาราม  อำเภอบางคณฑี  จังหวัดสมุทรสงคราม  เป็นกฐินพระราชทาน
     ๒. วัดช้างเผือก  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม
     ๓. วัดบุนนาคประชาสวรรค์  อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
     
     ทอดผ้าป่า 
     ได้เป็นหัวหน้าคณะไปทอดผ้าป่า ๓ วัด คือ 
     ๑. วัดดอนยายหอม   อำเภอเมืองนครปฐม  เพื่อแทนคุณพระราชธรรมาภรณ์ พระอุปัชฌาชย์ 
     ๒. วัดตาก้อง  อำเภอเมืองนครปฐม  เพื่อตอบแทนคุณวัดที่เคยเป็นเด็กวัด  เรียนชั้นประถมศึกษา
     ๓. วัดห้วยจระเข้  อำเภอเมืองนครปฐม  เพื่อตอบแทนคุณที่เคยเป็นเด็กวัดเรียนชั้นมัธยมศึกษา 
(โปรดติดตามตอนต่อไป)