โครงการบริหารการศึกษา
ข้าพเจ้ามีความคิดว่า การบริหารการศึกษาของชาติบ้านเมืองเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่ากิจการอื่นๆ เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานของความเจริญของชาติ ถ้าการบริหารการศึกษาล้มเหลว กิจการอื่นก็ล้มเหลวหมด
เมื่อไปอยู่เมืองเพชรบุรี จึงวางโครงการบริหารการศึกษาอย่างมีแผนการ มียุทธศาสตร์ มียุทธวิธี เราจะทำงานเช้าชามเย็นชามไม่ได้ ขอยืมวันอยู่ ขอยืมเมืองอยู่ไม่ได้
โครงการที่วางไว้ตามลำดับคือ
๑. โครงการสวดมนต์ไหว้พระ เอาครูบาอาจารย์มาอบรมเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระ ให้มีการสวดมนต์ไหว้พระทุกวันหน้าโรงเรียน ให้ครูทุกคนสวดมนต์พร้อมนักเรียนในเวลาเช้า เวลาเข้าแถวร้องเพลงชาติหน้าโรงเรียน
๒. ตั้งชมรมเบญศีล เพื่อทำประโยชน์แก่บ้านเมือง
๓. ทอดผ้าป่าหาทุนการศึกษา จัดงานทอดผ้าป่าหาเงินทุนการศึกษาที่วัดเขาตะเครา ให้ทุกโรงเรียนจัดกองผ้าป่าตั้งกองทุนการศึกษาของโรงเรียน หาได้เท่าไรเป็นของโรงเรียน จัดตั้งกองทุนไว้ และให้พยายามหาเงินกองทุนโรงเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี คราวนี้ได้เงินทุนรวมท้ังจังหวัด ๗ ล้านบาทเศษ เชิญเลขาธิการสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ นายสมาน แสงมะลิเป็นประธาน
๔. ตั้งร้านสหกรณ์โรงเรียนขึ้นทุกโรงเรียน ออกเงินซื้อหุ้นๆละ ๑๐ บาท จัดซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคมาจำหน่ายแก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ฝึกหัดการค้าขายให้เด็ก บางโรงเรียนมกำไรนับหมื่นบาท
๕. จัดต้ังโครงการอาหารกลางวัน ให้ตั้งครัวจัดทำอาหารกลางวันเลี้ยงเด็ก ใครมีเงินก็ซื้ออาหารรับประทาน ใครไม่มีเงินให้กินฟรี ให้เด็กมีอาหารกลางวันกินทุกคน
๖. ห้องสมุดโรงเรียน ให้จัดต้ังห้องสมุดโรงเรียนให้จัดหาเงินซื้ัอหนังสือ โดยจารึกชื่อผู้ซื้อหนังสือให้หรือออกเงินค่าซื้อหนังสือ ทำให้ทุกโรงเรียนจัดทำห้องสมุดโรงเรียนแข่งขันกัน มีห้องสมุดโรงเรียนทกโรงเรียน
๗. จัดต้ังสหกรณ์โรงเรียน ให้จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้น ส่งเงินออกคนละ ๑๐ บาท ตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ มีผู้ปกครองร่วมเป็นสมาชิกด้วย ตั้งกองทุนไว้ให้กู้ยืม คิดดอกเบี้ยเดือนละ ๑ บาท ต่อเงินกู้ ๑๐๐ บาท มีเงินสหกรณ์ออมทรัพย์เพิ่มขึ้นทุกปี
๘.บริหารการพระศาสนา คือ
๘.๑ตั้งมูลนิธิเด็ก หาเงินบำรุงวัดโดยใช้แต่ดอกผล
๘.๒ สอนพระธรรมทุกวันพระ ฝึกหัดพระเณรให้เทศน์และเผยแพร่พระธรรม
๘.๓ ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์สอนนักเรียน
๘.๔ จัดตั้งห้องสมุดวัด เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของประชาชน
๘.๕. ตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพ มีชาวบ้านที่มีความรู้พิเศษมาสอนเด็ก เช่น การดนตรีปี่พาทย์ การช่างฝึมือ
๘.๖. ตั้งสถานพยาบาลรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่พุทธศาสนิกชน
๘.๗.ทำทะเบียนบัญชีคนเข้าวัด คนทำบุญไว้เป็นหลักฐาน
๙. สร้างสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ทั้งที่ดินและตัวอาคาร จำนวนเงิน ๑๑ ล้านบาท
๓. ทอดผ้าป่าหาทุนการศึกษา จัดงานทอดผ้าป่าหาเงินทุนการศึกษาที่วัดเขาตะเครา ให้ทุกโรงเรียนจัดกองผ้าป่าตั้งกองทุนการศึกษาของโรงเรียน หาได้เท่าไรเป็นของโรงเรียน จัดตั้งกองทุนไว้ และให้พยายามหาเงินกองทุนโรงเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี คราวนี้ได้เงินทุนรวมท้ังจังหวัด ๗ ล้านบาทเศษ เชิญเลขาธิการสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ นายสมาน แสงมะลิเป็นประธาน
๔. ตั้งร้านสหกรณ์โรงเรียนขึ้นทุกโรงเรียน ออกเงินซื้อหุ้นๆละ ๑๐ บาท จัดซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคมาจำหน่ายแก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ฝึกหัดการค้าขายให้เด็ก บางโรงเรียนมกำไรนับหมื่นบาท
๕. จัดต้ังโครงการอาหารกลางวัน ให้ตั้งครัวจัดทำอาหารกลางวันเลี้ยงเด็ก ใครมีเงินก็ซื้ออาหารรับประทาน ใครไม่มีเงินให้กินฟรี ให้เด็กมีอาหารกลางวันกินทุกคน
๖. ห้องสมุดโรงเรียน ให้จัดต้ังห้องสมุดโรงเรียนให้จัดหาเงินซื้ัอหนังสือ โดยจารึกชื่อผู้ซื้อหนังสือให้หรือออกเงินค่าซื้อหนังสือ ทำให้ทุกโรงเรียนจัดทำห้องสมุดโรงเรียนแข่งขันกัน มีห้องสมุดโรงเรียนทกโรงเรียน
๗. จัดต้ังสหกรณ์โรงเรียน ให้จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้น ส่งเงินออกคนละ ๑๐ บาท ตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ มีผู้ปกครองร่วมเป็นสมาชิกด้วย ตั้งกองทุนไว้ให้กู้ยืม คิดดอกเบี้ยเดือนละ ๑ บาท ต่อเงินกู้ ๑๐๐ บาท มีเงินสหกรณ์ออมทรัพย์เพิ่มขึ้นทุกปี
๘.บริหารการพระศาสนา คือ
๘.๑ตั้งมูลนิธิเด็ก หาเงินบำรุงวัดโดยใช้แต่ดอกผล
๘.๒ สอนพระธรรมทุกวันพระ ฝึกหัดพระเณรให้เทศน์และเผยแพร่พระธรรม
๘.๓ ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์สอนนักเรียน
๘.๔ จัดตั้งห้องสมุดวัด เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของประชาชน
๘.๕. ตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพ มีชาวบ้านที่มีความรู้พิเศษมาสอนเด็ก เช่น การดนตรีปี่พาทย์ การช่างฝึมือ
๘.๖. ตั้งสถานพยาบาลรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่พุทธศาสนิกชน
๘.๗.ทำทะเบียนบัญชีคนเข้าวัด คนทำบุญไว้เป็นหลักฐาน
๙. สร้างสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ทั้งที่ดินและตัวอาคาร จำนวนเงิน ๑๑ ล้านบาท
(โปรดติดตามตอนต่อไป)