เคราะห์กรรมของวงศ์ตระกูล
พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (เสือ สุนทรศารทูล) มีภรรยาหลายคนตามธรรมเนียมขุนนางใหญ่สมัยนั้น แต่ภรรยาที่มีบุตรสืบสกุลมีอยู่ ๕ คน คือ
๑. คุณหญิงนาค มีบุตรเป็นพระยาสุนทรบุรี(สว่าง) แล้วเป็นพระยาวิชิตไชยศรีประชากร เรียกว่า สายเจ้าเมือง
๒. คุณเสน มีบุตรเป็น หลวงโภชสารี (หรุ่น) ผู้ช่วยผู้สำเร็จราชการเมือง เรียกว่า สายผู้ช่วย
๓.คุณแสง มีบุตรชื่อ หลวงสากลพิทักษ์ (หมี) ยกกระบัตรเมืองนครไชยศรี เรียกว่า สายยกกระบัตร
๔.คุณอ่อม มีบุตรชื่อ นายจึ่
๕.คุณชั้น มีบุตรชื่อ ขุนอภัยภาดาเขตต์ (ชุบ) นายอำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี
พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (สว่าง) ได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองนครไชยศรี ซึ่งสมัยน้ันเรียกว่า "ผู้สำเร็จราชการเมือง" มีอำนาจมาก สั่งตัดสินความได้ สั่งขัง สั่งเฆี่ยน สั่งปรับไหมคนในปกครองได้ ยกเว้นโทษประหารอย่างเดียว ต้องขอพระบรมราชโองการ จึงทำให้มีอำนาจมาก บ่าวไพร่จึงผูกโกรธเจ็บแค้น จึงได้ใส่ความโดยเอาหม้อดินมาปั้นตุ๊กตากอดกัน แล้วใส่หม้อดินไปฝังไว้ใต้ถุนตำหนัก ที่ตำบลท่านา ริมแม่น้ำนครไชยศรีแล้วทำเรื่องยื่นฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ ฟ้องร้องว่า พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (สว่าง สุนทรศารทูล) กับคุณหญิงตลับ บุตรีพระยาพระยาศรีสยาเทพ (พึ่ง ศรีเพ็ญ) ฝังรูปฝังรอย ทำเสน่ห์พระเจ้าแผ่นดิน ได้ร่วมกันทำทุจริตฝังรูปฝังรอยพระเจ้าแผ่นดิน บอกไปเสร็จว่าฝังรูปฝังรอยไว้ใต้ถุนตำหนัก ทางกระทรวงวังจึงส่งพวกตำรวจไปตรวจ พบหม้อดินฝังรูปฝังรอยอยู่จริง จึงได้จับเอาพระยาสุนทรบุรี ฯ (สว่าง สุนทรศารทูล) กับคุณหญิงศรีเพ็ญ มาขังไว้ในพระบรมมหาราชวัง ถอดจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมือง เมื่อพ.ศ.๒๔๒๕ ตั้งคนอื่นไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองแทน
สมัยน้ัน พระยาสุนทรบุรี ฯ (สว่าง) มีบุตรคนหนึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเป็นเจ้าจอม ชือว่า เจ้าจอมเรือน มีธิดากับพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าหญิงพิศมัยพิมลสัตย์
ภายหลังเจ้าจอมมารดาเรือนได้พาพระองค์เจ้าหญิงพิศมัยพิมลสัตย์เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงอุ้มพระราชธิดาขึ้นนั่งบนพระเพลา ตรัสถามว่า "สบายดีหรือลูก" พระองค์เจ้าหญิงทูลว่า "ลูกสบายดี แต่คิดถึงคุณตาคุณยาย"
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการสั่งปล่อยพระยาสุนทรบุรีฯ (สว่าง สุนทรศารทูล) และคุณหญิงตลับ ศรีเพ็ญ ออกจากที่คุมขัง แต่งต้ังให้เป็น พระยาวิชิตไชยศรีประชากร จางวางผู้กำกับเมืองนครไชยศรี ก็เท่ากับตำแหน่งที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการเมือง
ตระกูล สุนทรศารทูล จึงพากันตกต่ำหมดทั้งตระกูลไม่ได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณ คุณพระ พระยากันเลย
ต่อมา คุณหญิงเวก สุนทรศารทูล ธิดา พระยาวิชิตไชยศรีประชากร (สว่าง สุนทรศารทูล) ได้สมรสกับพระยาศรีวงวงศ์ (ม.ร.ว. จิตร สุทัศน์) มีบุตรชื่อ พระศรีสุทัศน์ (ม.ล.อนุจิตร สุทัศน์) ได้เป็นเจ้าเมืองนครปฐมสืบสกุลต่อมา แต่ก็เป็นสายเขย ไม่ได้สืบสกุลสุนทรศารทูลลงมาโดยตรง
ต่อมาคุณเอื่ยม สุนทรศารทูล บุตรพระยาวิชิตไชยศรีประชากร เป็นมหาดเล็ก ก็ไม่ได้เลื่อนยศเหมือนกัน มีบุตรชื่อพระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมในชั้นหลาน นายดำรง สุนทรศารทูล บุตรพระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมในชั้นเหลน ต่อมาได้เป็นอธิบดีกรมการปกครองและปลัดกระทรวงมหาดไทย ถ้าจะเขียนผังการสืบสกุลวงศ์ก็จะได้ดังนี้ คือ
๑.พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (เสือ) ผู้สำเร็จราชการเมืองนครไชยศรี
๒. พระยาวิชิตไชยศรีประชากร (สว่าง) จางวางเมืองนครไชยศรี
๓. คุณเอื่ยม สุนทรศารทูล มหาดเล็ก
๔. พระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล)
๕. นายดำรง สุนทรศารทูล ปลัดกระทรวงมหาดไทย
สายนี้ขึ้นสูงสุดในชั้นที่ ๕ ที่เรียกว่า สายเจ้าเมือง
ภายหลังเจ้าจอมมารดาเรือนได้พาพระองค์เจ้าหญิงพิศมัยพิมลสัตย์เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงอุ้มพระราชธิดาขึ้นนั่งบนพระเพลา ตรัสถามว่า "สบายดีหรือลูก" พระองค์เจ้าหญิงทูลว่า "ลูกสบายดี แต่คิดถึงคุณตาคุณยาย"
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการสั่งปล่อยพระยาสุนทรบุรีฯ (สว่าง สุนทรศารทูล) และคุณหญิงตลับ ศรีเพ็ญ ออกจากที่คุมขัง แต่งต้ังให้เป็น พระยาวิชิตไชยศรีประชากร จางวางผู้กำกับเมืองนครไชยศรี ก็เท่ากับตำแหน่งที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการเมือง
ตระกูล สุนทรศารทูล จึงพากันตกต่ำหมดทั้งตระกูลไม่ได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณ คุณพระ พระยากันเลย
ต่อมา คุณหญิงเวก สุนทรศารทูล ธิดา พระยาวิชิตไชยศรีประชากร (สว่าง สุนทรศารทูล) ได้สมรสกับพระยาศรีวงวงศ์ (ม.ร.ว. จิตร สุทัศน์) มีบุตรชื่อ พระศรีสุทัศน์ (ม.ล.อนุจิตร สุทัศน์) ได้เป็นเจ้าเมืองนครปฐมสืบสกุลต่อมา แต่ก็เป็นสายเขย ไม่ได้สืบสกุลสุนทรศารทูลลงมาโดยตรง
ต่อมาคุณเอื่ยม สุนทรศารทูล บุตรพระยาวิชิตไชยศรีประชากร เป็นมหาดเล็ก ก็ไม่ได้เลื่อนยศเหมือนกัน มีบุตรชื่อพระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมในชั้นหลาน นายดำรง สุนทรศารทูล บุตรพระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมในชั้นเหลน ต่อมาได้เป็นอธิบดีกรมการปกครองและปลัดกระทรวงมหาดไทย ถ้าจะเขียนผังการสืบสกุลวงศ์ก็จะได้ดังนี้ คือ
๑.พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (เสือ) ผู้สำเร็จราชการเมืองนครไชยศรี
๒. พระยาวิชิตไชยศรีประชากร (สว่าง) จางวางเมืองนครไชยศรี
๓. คุณเอื่ยม สุนทรศารทูล มหาดเล็ก
๔. พระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล)
๕. นายดำรง สุนทรศารทูล ปลัดกระทรวงมหาดไทย
สายนี้ขึ้นสูงสุดในชั้นที่ ๕ ที่เรียกว่า สายเจ้าเมือง
สายยกกระบัตร
สายที่สอง เรียกว่า สายยกกระบัตร มีลำดับวงศ์ลงมาดังนี้
๑. พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (เสือ สุนทรศารทูล)
๒. หลวงสากลพิทักษ์ (หมี สุนทรศารทูล) ยกกระบัตรเมืองนครไชยศรี
๓. พระภักดีศรีสุพรรณภูมิ (สุด สุนทรศารทูล) ปลัดเมืองสุพรรณบุรี
๔. นายถวิล สุนทรศารทูล ปลัดกระทรวงมหาดไทย
๕. นายยนต์ สุนทรศารทูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
สายนี้ขึ้นสูงสุด ในชั้นที่ ๔
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น